ภัยร้าย 4 โรคฮิตของชาวออฟฟิสซินโดรม

Last updated: 11 พ.ย. 2564  |  543 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ภัยร้าย 4 โรคฮิตของชาวออฟฟิสซินโดรม

การทำงานหนักก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่การที่เราทำงานหนักเกินไปจนสุขภาพร่างกายแย่ก็จะส่งผลกระทบกับตัวเราได้ในหลาย ๆ ด้าน แทนที่เราจะนำเงินที่หามาได้ไปใช้จ่ายอย่างมีความสุข อาจจะต้องมาใช้จ่ายในเรื่องค่ายา ค่ารักษาพยาบาลแทนได้ วันนี้ Noble Office Furniture นำโรคที่มักเกิดกับชาวออฟฟิสมาฝากและอยากให้เพื่อน ๆ ลองสังเกตอาการว่าเกิดขึ้นกับตัวเองแล้วหรือยังนะคะ

1.โรคเส้นประสาทกดทับ
เกิดจากการใช้มือในท่าทางเดิม ๆ เป็นประจำและใช้งานข้อมือหนัก เช่น เวลาพิมพ์คีย์บอร์ด การใช้เม้าส์และเสียดสีกับโต๊ะตลอดวเลา ซึ่งก่อให้เกิดอาการกดทับจนมีอาการชา เหน็บ ปวดแสบปวดร้อน ตั้งแต่นิ้วมือ ฝ่ามือและอาจลามไปถึงหัวไหล่ โดยเบื้องต้นสามารถรักษาได้ด้วยการประคบร้อนหรือกดบริเวณผังผืดที่กดทับเส้นประสาท รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เม้าส์และคีย์บอร์ดให้ถูกท่า แต่หากมีอาการรุนแรงควรพบแพทย์โดยการรักษาจะมีตั้งแต่ยาไปจนถึงการผ่าตัด

2.โรคอ้วน
เพราะไลฟ์สไตล์การทำงานแบบนั่งอยู่กับโต๊ะเป็นเวลานาน ๆ ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาในการเคลื่อนไหวร่างกาย รวมถึงการกินขนมจุกจิกและไม่ออกกำลังกาย จึงทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคอ้วนได้ ดังนั้นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการขยับเคลื่อนไหวร่างกายบ้างทุก ๆ 1-2 ชม. และพยายามงดทานจุบจิบระหว่างวัน

3.กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
เมื่อไอเดียกำลังมาแบบพุ่งดระฉูดจนไม่อยากจะลุกออกไปเข้าห้องน้ำ หลาย ๆ คนคงจะมีพฤติกรรมดังกล่าวใช่ไหมคะ แต่นั่นเป็นสาเหตุหลักที่จะทำให้คุณเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้เลยนะ!! รวมถึงการดื่มน้ำน้อยก็เป็นปัจจัยที่ให้เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้เช่นกัน เพราะเชื้อแบคทีเรียในร่างกายเราไม่ได้ถูกขับออกมารวมถึงยังเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนในร่างกายอีกด้วย โดยผู้ที่เป็นจะมีอาการปวดแสบบริเวณท้องน้อยเวลาปัสสาวะ ปวดปัสสาวะบ่อย ๆ และปัสสาวะไม่สุด ทางที่ดีไม่ควรกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ และควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 1.5 ลิตรนะคะ

4.ออฟฟิสซินโดรม
โรคยอดฮิตของชาวออฟฟิสที่เกิดจากการนั่งทำงานในท่าทางที่ไม่เหมาะสมกับสรีระของร่างกาย จนทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อจนลามไปถึงเรื้อรัง เป็นผลจากการที่เส้นประสาทส่วนปลายถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง โดยวิธีป้องกันอาการออฟฟิสซินโดรมสามารถทำได้เช่น เปลี่ยนอิริยาบถการทำงานให้ถูกต้อง เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์สำนักงานที่สอดคล้องกับการยศาสตร์ เป็นต้น

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้